 |
ประวัติโรงเรียน |
 |
ประวัติโรงเรียน
|
โรงเรียนวัดกำมะเชียร (ชิรญาณปัญญา) ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 ตำบลเขาพระ อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ.246 โดยมีนายผิน นาโตปาระมา เป็นครูใหญ่คนแรก ต่อมาเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.2475 ทางราชการได้ยุบโรงเรียนแห่งนี้ไปรวมกับโรงเรียนวัดหัวเขา ตำบลหัวเขา อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี จนถึงวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ.2477 ทางราชการจึงได้พิจารณาอนุมัติให้จัดตั้งโรงเรียนแห่งนี้ขึ้นใหม่จนถึงปัจจุบันนี้ โรงเรียนแห่งนี้มีเนื้อที่เป็นของโรงเรียน (มีเอกสารสิทธิ์) จำนวน 5 ไร่ 3 งาน 92 ตารางวา และอาศัยที่ดินของวัดกำมะเชียร 13 ไร่ 3 งาน 92 ตารางวา รวมเนื้อที่ทั้งสิ้นที่โรงเรียนปกครองดูแล 19 ไร่ 1 งาน 15 ตารางวา ทางโรงเรียนได้ดำเนินการพัฒนาปรับปรุงมาตลอด ดังนี้
พ.ศ.2490 ได้ร่วมกับประชาชนจัดหาเงิน วัสดุ สมทบกับงบประมาณของรัฐสร้างอาคารเรียน แบบ ป.2 ของกระทรวงศึกษาธิการ จนถึงเดือนมีนาคม 2492 จึงสร้างอาคารสำเร็จ อาคารขนาดกว้าง 19 เมตร ยาว 37 เมตร ได้ทำพิธีเปิดป้ายอาคารเรียนเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.2493
พ.ศ.2497 จัดหาเงินซื้อไม้ฝากั้นห้องเรียน จำนวน 4 ห้องเรียน
พ.ศ.2501 ปรับปรุงโรงเรียนเพื่อส่งเข้าประกวดตามนโยบายของจังหวัด ได้รับรางวัล 500 บาท โต๊ะ, ม้านั่งนักเรียน 50 ชุด คิดเป็นเงิน 1,750 บาท
พ.ศ.2504 ได้รื้ออาคารเรียนหลังเก่า แบบ ป.2 ของกระทรวงศึกษาธิการซึ่งชำรุดมากนำมาปลูกสร้างใหม่ตามแบบกึ่งถาวรของกรมสามัญศึกษา ขนาดกว้าง 9 เมตร ยาว 36 เมตร จำนวน 4 ห้องเรียน สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ.2504 สิ้นค่าก่อสร้างรวมทั้งสิ้น 150,000 บาท
พ.ศ.2507 ได้ปรับปรุงโรงเรียนส่งประกวดในระดับอำเภอ ได้รับรางวัลอันดับ 1 ของอำเภอประเภทถาวร
พ.ศ.2508 จัดหาเงินสร้างสนามบาสเกตบอล พร้อมปรับปรุงโรงเรียนเพื่อส่งเข้าประกวด ได้รับรางวัลอันดับที่ 2 ประเภทถาวร ในปีนี้การประกวดรางวัล อันดับที่ 1 ไม่มี พร้อมสร้างอาคารเรียนหลังใหม่ เป็นเงิน 21,500 บาท
พ.ศ.2509 จัดหาเงินต่อน้ำประปา เป็นเงิน 1,686 บาท พร้อมหาเงินสมทบสร้างอาคารเรียน เป็นเงิน 44,465 บาท
พ.ศ.2510 จัดหาเงินสมทบสร้างอาคารเรียน เป็นเงิน 62,910 บาท พร้อมปรับปรุงสนามกีฬาและซื้อเสาไม้ทำรั้วโรงเรียน รวมทั้งสิ้น 6,700 บาท
พ.ศ.2511 ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนแบบ 008 จำนวน 1 หลัง ขนาด 5 ห้องเรียน ใช้เงินของรัฐ 150,000 บาท ราษฎรสมทบ 45,000 บาท สิ้นค่าก่อสร้างรวม 235,000 บาท ทำสัญญาเมื่อ 7 พฤษภาคม พ.ศ.2511 สร้างเสร็จเมื่อ 18 สิงหาคม พ.ศ.2511
พ.ศ.2517 คณะครู คณะกรรมการวัด และเจ้าอาวาสวัดกำมะเชียร ได้ร่วมกันหาเงินสร้างรั้วคอนกรีตเสริมเหล็ก รวม 41 ช่อง คิดเป็นเงิน41,000 บาท
พ.ศ.2520 ได้รับงบประมาณก่อสร้างส้วม 1 หลัง 4 ที่นั่ง เป็นเงิน 10,000 บาท คณะครู ร่วมบริจาคเพิ่มเติมคนละ 50 บาท (คณะครูเป็นผู้ก่อสร้างเอง) ในปีนี้ทางโรงเรียนได้จัดงานชุมนุมศิษย์เก่า ได้เงินสุทธิ 6,242 บาท
พ.ศ.2521 ได้รับงบประมาณก่อสร้างบ้านพักครูแบบองค์การบริหารส่วนจังหวัด จำนวน 1 หลัง 2 ชั้น 2 ห้องนอน ราคาก่อสร้าง 50,000 บาท
พ.ศ.2522 จัดหาเงินต่อไฟฟ้าเข้าโรงเรียน เป็นเงิน 4,050 บาท
พ.ศ.2523 ได้รับบริจาคที่ดินจากนายเลี้ยง วิชพัฒน์ ตลาดท่าช้าง จำนวน 2 ไร่ 3 งาน 23 ตารางวา และผู้ใหญ่แนบ ทองมี จำนวน 1 ไร่ 1 งาน คิดเป็นเงินรวมทั้งสิ้น560,000 บาท ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนแบบ 017 จำนวน 1 หลัง 4 ห้องเรียน ราคา 750,000 บาท พร้อมบ้านพักครูแบบองค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 หลัง 2 ชั้น 2 ห้องนอน เป็นเงิน 50,000 บาท ได้รับเงินบริจาคในการปรับพื้นที่สร้างอาคารเรียน เป็นเงิน 61,500 บาท
พ.ศ.2524 ได้รับงบประมาณก่อสร้างโรงฝึกงานแบบองค์การบริหารส่วนจังหวัด จำนวน 1 หลัง ราคา 80,000 บาท งบประมาณก่อสร้างส้วม แบบ สปช.601 จำนวน 1 หลัง 4 ที่นั่ง ราคา 50,000 บาท และงบประมาณต่อเติมอาคารเรียนแบบ 017 (ชั้นล่าง) จำนวน 2 ห้องเรียน เป็นเงิน 40,000 บาท
พ.ศ.2526 จัดผ้าป่าหาเงินสร้างสนามบาสเกตบอล แบบมาตรฐาน เป็นเงิน 70,000 บาท ได้รับงบประมาณก่อสร้างถังเก็บน้ำฝน แบบ ฝ.33 จำนวน 1 ชุด (3 ถัง) เป็นเงิน 28,550 บาท ก่อสร้างเรือนเพาะชำแบบ พ.1 จำนวน 1 หลัง ราคา 4,600 บาท
พ.ศ.2527 จัดหาเงินซื้อที่ดินของนายแนบ สุขนคร จำนวน 2 ไร่เศษ เป็นเงิน 2,500 บาท โดยขอยืมเงินจากนายซุง มงคลทิพย์วาที และนายเถ้า มงคลทิพย์วาที เป็นเงินสำรองจ่ายค่าที่ดิน แล้วจัดงานหาเงินให้บุคคลดังกล่าวภายหลัง
พ.ศ.2528 จัดงานชุมนุมศิษย์เก่าเพื่อหาเงินใช้หนี้ที่ซื้อที่ดิน และได้รับบริจาคตู้เหล็ก ชนิด 2 บานเปิด เป็นเงิน 5,400 บาท พร้อมสร้างกระถางต้นไม้หน้าอาคารเป็นเงิน 4,000 บาทเศษ
พ.ศ.2529 กรมทางหลวงได้สร้างทางเข้าโรงเรียนด้านทิศตะวันออก เป็นเงิน 30,000 บาทเศษ
พ.ศ.2530 สร้างแท่นพระพุทธรูปหน้าอาคาร 3 (แบบ 017) เป็นเงิน 10,000 บาท
24 พฤศจิกายน 2530 คณะครู คณะกรรมการโรงเรียน ประชาชน และเจ้าอาวาสวัดกำมะเชียร ได้ร่วมกันปรับปรุงอาคาร 1 (ชิรญาณปัญญา) ที่ชำรุดทรุดโทรมให้ใช้ประโยชน์เป็นโรงอาหารและหอประชุม โดยได้รับการสนับสนุนจากพระครูสุวรรณศีลวิสุทธิ์ เจ้าอาวาสวัดกำมะเชียร ได้มอบไม้พื้น ประมาณ 1 ยกเศษ สิ้นค่าปรับปรุงรวมทั้งสิ้น 5,590 บาท โดยไม่ใช้งบประมาณจากทางราชการ
10 เมษายน 2531 คณะครูและประชาชนได้ร่วมกันก่อสร้างเสาธง ฐานคอนกรีตเสริมเหล็ก เสาเหล็ก สิ้นค่าก่อสร้าง 5,500 บาท
23 ธันวาคม 2531 คณะครู คณะกรรมการโรงเรียน และประชาชนร่วมกันจัดผ้าป่าเพื่อหาเงินปรับปรุงอาคารอเนกประสงค์ให้เป็นอาคารถาวรก่ออิฐฉาบปูน เพื่อใช้เป็นห้องสมุด/ห้องพักครู สิ้นค่าก่อสร้าง 35,960 บาท และต่อเติมอาคารเรียนแบบ 017 (ชั้นล่าง) จำนวน 2 ห้องเรียน สิ้นค่าก่อสร้าง 50,000 บาท
12 กุมภาพันธ์ 2532 คณะครู คณะกรรมการโรงเรียน และประชาชนได้ร่วมกันจัดหาเงินก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก หน้าอาคาร 3 (แบบ 017) ขนาดกว้าง 4 เมตร หนา 10 เซนติเมตร ยาว 50 เมตร สิ้นค่าก่อสร้าง 37,000 บาท
24 ธันวาคม 2535 คณะครู คณะกรรมการโรงเรียน และประชาชนได้ร่วมกันจัดงานชุมนุมศิษย์เก่า เพื่อหารเงินสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็กต่อเติมจากเดิม ได้เงินทั้งสิ้น 62,920 บาท
9 เมษายน 2537 คณะครู คณะกรรมการโรงเรียน และประชาชนร่วมกันจัดหาเงินปรับปรุงห้องสมุดโรงเรียน เพื่อส่งเข้าประกวดประเภทนักเรียน ขนาด 121-300 คน ได้รับรางวัลชนะเลิศระดับอำเภอ
13 กุมภาพันธ์ 2538 ได้รับการคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนดำเนินการนิเทศภายในผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ระดับดีมาก ได้รับโล่รางวัลจาก สปจ.สุพรรณบุรี
7 มีนาคม 2538 ได้รับการคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามโครงการ กศ.พช.ดีเด่น ได้รับโล่รางวัลจาก สปจ.สุพรรณบุรี
4 มิถุนายน 2538 สจ.ชิด เมืองช้าง ได้บริจาคดินสำหรับถมสนามกีฬา จำนวน 200 เที่ยว ห้องขุดลอกสระน้ำด้านทิศตะวันออกติดถนนลาดยางสายท่าช้าง- ด่านช้าง
4 มีนาคม 2539 คณะครู คณะกรรมการโรงเรียน เจ้าอาวาสวัดกำมะเชียร และประชาชนร่วมกันบริจาคทรัพย์สร้างรั้วคอนกรีตเสริมเหล็กทางด้านทิศเหนือและด้านทิศตะวันออก รวม 100 ช่อง คิดเป็นเงิน 150,000 บาท โดยพระครูสุวรรณสีลวิสุทธิ์ เจ้าอาวาสวัดกำมะเชียร ได้มอบเงินกฐินของสมาคมสุพรรณ-พระนคร โดย ฯพณฯ บรรหาร ศิลปะอาชา เป็นเงิน 100,000 บาท และประชาชนร่วมบริจาค เป็นเงิน 50,000 บาท
27 พฤษภาคม 2539 ได้รับงบประมาณซ่อมแซมอาคาร 2 (แบบ 008) เป็นเงิน 228,000 บาท ทำสัญญาเมื่อ 22 พฤษภาคม 2539 ปรับปรุงซ่อมแซมเสร็จเรียบร้อย เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2539
พ.ศ.2540 ได้รับการคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนปฏิรูปการศึกษาตามนโยบายของทางราชการ
4 เมษายน 2540 ได้รับงบประมาณขุดบ่อเลี้ยงปลา จากกรมประมง เป็นเงินงบประมาณ 85,000 บาท สร้างเสร็จเมื่อ 12 เมษายน 2540
28 เมษายน 2540 คณะครู คณะกรรมการโรงเรียนและประชาชนได้ร่วมกันบริจาคทรัพย์ก่อสร้างอาคารห้องสมุดในบ่อเลี้ยงปลา ขนาดกว้าง 6 เมตร ยาว 14 เมตร มีห้องน้ำ 1 ห้อง เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กพื้นปูด้วยไม้ โดยใช้วัสดุจากอาคาร 1 ที่ได้รับอนุญาตให้รื้อถอนมาเป็นวัสดุในการก่อสร้างอาคาร สร้างเสร็จเมื่อ 21 สิงหาคม 2540 รวมค่าก่อสร้างทั้งสิ้น 135,000 บาท
16 เมษายน 2543 คณะครู คณะกรรมการโรงเรียน และประชาชนได้ร่วมกันจัดผ้าป่าเพื่อการศึกษามาปรับปรุงห้องสมุดโรงเรียนและจัดซื้อคอมพิวเตอร์ ได้เงินทั้งสิ้น 164,410 บาท จัดซื้อคอมพิวเตอร์ได้จำนวน 6 เครื่อง และปรับปรุงห้องสมุดโรงเรียนได้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
24 กรกฎาคม 2543 คณะครู คณะกรรมการโรงเรียน และประชาชนได้ร่วมกันจ้างช่างไม้มาปรับพื้นอาคารห้องสมุด พร้อมลงน้ำมันยูนิเทน จัดทำผ้าแขวน จัดทำชั้นวางหนังสือ ทาสีอาคาร สิ้นค่าปรับปรุงห้องสมุด รวมทั้งสิ้น 85,000 บาท
กรกฎาคม 2550 เทศบาลตำบลเขาพระได้อนุมัติงบประมาณสนับสนุนการศึกษาให้โรงเรียน 2 รายการ คือ 1) งบปรับปรุงห้องคอมพิวเตอร์ เป็นเงิน 58,100 บาท ทำสัญญาเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2550 ส่งงานจ้างวันที่ 3 สิงหาคม 2550 2) งบประมาณจัดซื้อคอมพิวเตอร์และระบบอินเตอร์เน็ต เป็นเงิน 390,000 บาท ทำสัญญาเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2550 ส่งมอบงานเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2550
19 กรกฎาคม 2551 คณะครู คณะกรรมการสถานศึกษา และประชาชนได้ร่วมกันจัดผ้าป่าเพื่อการศึกษา ปรับปรุงห้องสมุดและพัฒนาการศึกษา ได้เงินรวมทั้งสิ้น 366,304 บาท
10 ตุลาคม 2551 คณะครู คณะกรรมการสถานศึกษา ได้ร่วมกันจ้างช่างเพื่อก่อสร้างห้องสุขา จำนวน 4 ห้อง พร้อมที่ปัสสาวะชาย สิ้นงบประมาณก่อสร้าง 130,000 บาท
15 กรกฎาคม 2555 คณะครู คณะกรรมการสถานศึกษา และประชาชนได้ร่วมกันจัดผ้าป่าเพื่อการศึกษา เพื่อพัฒนาการศึกษาได้เงินรวมทั้งสิ้น 279,907.50 บาท
20 ตุลาคม 2555 ติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอน ประจำปี พ.ศ.2555 ชนิดคอมพิวเตอร์แบบพกพาพร้อมอุปกรณ์ (Tablet computer) งงประมาณ 199,000 บาท
26 พฤศจิกายน 2555 รับคอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2555 ชนิดคอมพิวเตอร์แบบพกพา จำนวน 11 เครื่อง (Tablet Computer) งบกระทรวงศึกษาธิการ
28 พฤศจิกายน 2555 นายสำเนา พูลเพิ่ม ได้ย้ายมารับตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนวัดกำมะเชียร
1 ตุลาคม 2559 นายสถิตย์ วรรักษ์ รักษารราชการแทนผู้อำนวยการโรงเรียนวัดกำมะเชียร
1 พฤศจิกายน 2559 คณะกรรมการสถานศึกษาได้นำเงินบริจาคมาจ้างครูอัตราจ้าง 9 คน
14 พฤศจิกายน 2559 คณะกรรมการสถานศึกษา และประชาชนได้เข้ามาปรับปรุงภูมิทัศน์ในโรงเรียน เทปูนด้านหน้าอาคารเรียนและโรงอาหาร และขอรับบริจาคเงินจากคุณสุเมธ ประสิทธิเมกุลจัดซื้อเครื่องปรับอากาศ จำนวน 2 เครื่อง 75,000 บาทเศษ ติดตั้งที่ห้องเรียนอนุบาล
6 ธันวาคม 2559 ชุมชนจัดสร้างส้วมสาธารณะให้โรงเรียนดูแลรักษา งบประมาณ 500,000 บาทเศษ
28 ธันวาคม 2559 นางมณฑาทิพย์ จงชาญสิทโธ ได้ย้ายมารับตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดกำมะเชียร
15 เมษายน 2560 คณะครู คณะกรรมการสถานศึกษา และประชาชน ร่วมกันจัดผ้าป่าเพื่อการศึกษา และงานครบรอบ 94 ปี เพื่อระดมทุนพัฒนาการศึกษาและจ้างครูจ้างสอน ได้งบประมาณ 2,000,000 บาทเศษ
มิถุนายน 2560 คณะกรรมการสถานศึกษา และประชาชน บริจาคเงินจัดสร้างศาลพระภูมิ งบประมาณ 65,000 บาท
กรกฎาคม 2560 คณะกรรมการสถานศึกษา และประชาชน ร่วมกันบริจาคเงินจัดสร้างโรงจอดรถยนต์ และปรับปรุงเพิงหลังคาอาคาร 017 สิ้นงบประมาณ 70,000 บาทเศษ
20 สิงหาคม 2560 คณะกรรมการสถานศึกษา และประชาชน ร่วมกันบริจาคเงินจัดซื้อพัดลมเพดาน จำนวน 18 ตัว จัดทำโต๊ะอาหารนักเรียน จำนวน 24 ชุด งบประมาณ 72,000 บาท
24 สิงหาคม 2560 คุณสุเมธ คุณเกสร ประสิทธิเมกุล บริจาคเงิน จำนวน 40,000 บาท ให้โรงเรียนจัดซื้อไม้ยืนต้นมาปลูกในโรงเรียน
กันยายน 2560 คณะกรรมการสถานศึกษา และประชาชน ร่วมกันบริจาคเงิน จัดสร้างประตูรั้วอลูมิเนียม งบประมาณ 45,000 บาท และทำถนนลาดยางทางเข้าหน้าโรงเรียน ยาว 70 เมตร สิ้นค่าก่อสร้าง 180,000 บาท
3 ตุลาคม 2560 อู่ไก่การช่าง บริจาคเงินจัดสร้างป้ายโรงเรียนวัดกำมะเชียร ทางทิศเหนือ งบประมาณ 65,000 บาทเศษ และคุณสุเมธ ประสิทธิเมกุล บริจาคเงินสร้างป้ายโรงเรียนทางทิศตะวันออก งบประมาณ 100,000 บาทเศษ
13 ตุลาคม 2560 คุณชาญชัย – คุณดรุณี เกษศิลป์ บริจาคเงินสร้างเสาธงโรงเรียน และฐานพระพุทธรูปให้แก่โรงเรียนวัดกำมะเชียร งบประมาณ 120,000 บาทเศษ
ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียนตั้งแต่ก่อตั้งถึงปัจจุบัน
ที่ |
ชื่อ-ชื่อสกุล |
ตำแหน่ง |
ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง |
1 |
นายผิน นาโตปาระมา |
ครูใหญ่ |
1 สิงหาคม 2465- 1 กุมภาพันธ์ 2475 |
2 |
นายพยนต์ กาฬกาญจน์ |
ครูใหญ่ |
9 กรกฎาคม 2477-17 กุมภาพันธ์ 2478 |
3 |
นายช่วง นาคทอง |
ครูใหญ่ |
17 กุมภาพันธ์ 2478-20 พฤศจิกายน 2491 |
4 |
นายโชติ สุทธิพันธุ์ |
ครูใหญ่ |
21 พฤศจิกายน 2491-9 มีนาคม 2496 |
5 |
นายสนิท กอสุวรรณ |
ครูใหญ่ |
1 พฤศจิกายน 2499- 1 กรกฎาคม 2501 |
6 |
นายสุวิทย์ เปรมทอง |
ครูใหญ่ |
2 กรกฎาคม 2501- 11 มีนาคม 2504 |
7 |
นายบุญชัย กอยรรยง |
ครูใหญ่ |
12 มีนาคม 2504- 2 ธันวาคม 2509 |
8 |
นายประจวบ ทองคำ |
ครูใหญ่ |
1 ธันวาคม 2511- 20 กุมภาพันธ์ 2516 |
9 |
นายเจื่อน ศรีสุขกุล |
อาจารย์ใหญ่ |
21 กุมภาพันธ์ 2516-30 กันยายน 2530 |
10 |
นายกุมุท นิติสิริ |
อาจารย์ใหญ่ |
12 ตุลาคม 2530-30 กันยายน 2555 |
11 |
นายสำเนา พูลเพิ่ม |
ผู้อำนวยการ |
28 พฤศจิกายน 2555-30 กันยายน 2559 |
12 |
นางมณฑาทิพย์ จงชาญสิทโธ |
ผู้อำนวยการ |
28 ธันวาคม 2559- ปัจจุบัน |
|
|